เรือเหาะมฤตยู : เลด เซพพลิน III

Blowin’ in the songs
โดย : ประมวล ดาระดาษ
p_daradas@hotmail.com
จิมมี เพจเล่าเบื้องหลังต่ออัลบัมประวัติศาสตร์ LED ZEPPELIN III อีกคราหนึ่งว่า…

“เราทำงานกันขมีขมัน กระตือรือร้น เป็นสุดยอดแห่งความแข็งแกร่งทางด้านศิลปะจริง ๆ และผมก็คิดว่าถึงเวลาที่พวกราควรจะต้องพักผ่อนกันเสียที เพราะกรำงานกันมามากเหลือเกิน หรือบางทีก็คิดว่าต้องเลิกเดินสายกันแล้ว โรเบิร์ต แพลนท์ จึงแนะนำว่าเราควรจะไปหาที่เป็นกระท่อมชนบท แถว ๆ เซาธ์ เวลส์ ที่เขาเคยมาอยู่กับพ่อแม่เมื่อสมัยยังเด็ก เป็นที่ ๆ มีบรรยากาศและภูมิประเทศที่สวยงามมาก ดีเหมือนกัน ไปก็ไป ผมคิด เพราะผมยังไม่เคยไปเหยียบเวลส์เลย…”

“ถึงเวลา พอผมและวงไปพักก็เอากีตาร์ไปด้วย ไม่ได้หมายความว่าเราจะตั้งใจมาหาบรรยากาศทำเพลงแต่อย่างใด ในชนบท เพียงแต่ต้องการหนีงานประจำและหาเวลาพักผ่อนบ้าง เราก็ไปกับเพื่อนพ้องในวง กลางคืนนั่งรอบแคมป์ไฟบ้าง เล่นโปกเกอร์กันบ้าง แต่..บางทีก็เอากีตาร์ออกมาเล่น บางคนเขียนเพลงแบบไม่ตั้งใจ งานบางชิ้นจึงออกมาที่นี่

“เป็นศิลปะแบบไร้ความคาดหมาย มุ่งหวัง ออกมาจากใจโดยแท้ ผมรู้สึกว่าอัลบัมนี้ (LED ZEPPELIN III) เป็นเครื่องหมายที่แสดงความมีเอกลักษณ์ของวงมากที่สุด จากที่ทำมา เราไม่เปลี่ยนนโยบาย มันจะเป็นการไม่ยุติธรรมเลยต่อการที่เราเพิ่งเปลี่ยนสำเนียงที่ก้าวสู่จุดสมบูรณ์มาหยกๆ แล้วจะมาประกาศจะทำสิ่งใหม่อีกแล้ว

“ในอัลบัมใหม่มีนักดนตรีอะคูสติกมาช่วยมากกว่าเดิม แต่ก็ยั งเป็นการเล่นดนตรีที่หนักอยู่ เราสามารถจะเติมวัตถุดิบในเพลงเก่าๆ ที่ทำไว้ โดยไม่ทำตามทั้งหมดซึ่งมันออกจะพ้นสมัยไปแล้ว”

ฝ่าย โรเบิร์ต แพลนท์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
“คุณจะเห็นหัวข้อว่า ลองเพลย์อัลบัมนี้จะมอบความนุ่มนวล ให้แก่แฟนหรืออย่างไร หรือข้อความอะไรที่เกี่ยวข้องประมาณนั้น จากจุดที่คุณมีอัลบัมใหม่ คุณจะไม่รู้หรอกว่ามีข้อแตกต่างอะไรเกิดขึ้น เมื่อคุณคิดภาพในใจออกมา เราก็เริ่มต้นพิจารณารู้ว่า เราต้องการอะไรในอัลบัมนี้ นี่คือจุดเริ่มต้นทุกครั้ง…”

“…ผมไม่เคยคิดเลยว่า สภาพวงจะอยู่ในช่วงขาลง เพราะว่าวงของพวกเราทำอะไรที่แตกต่างออกไป และมีสิ่งแปลก ๆ เสมอ เราต้องการให้ผู้ฟังคอยเงี่ยหูระวังเสมอว่า เราจะมีงานใหม่ออกเมื่อไร และสิ่งที่เราจะต้องทำในขณะนี้ก็คือ พิจารณาถึงจุดที่เรามาถึง เมื่อเป็นอย่างนี้เท่ากับว่าเราอยากพูดอะไรพูดได้ คนก็ต้องฟัง เพราะมันเป็นถ้อยคำของเรา…”

จิมมี เพจ กล่าวเสริมสอดแทรกว่า “เมื่ออัลบัมลองเพลย์อันดับสามของวงวางแผง และได้รับการวิจารณ์ ครอสบี สติล แอนด์ แนช เพิ่งจะฟอร์มวงเสร็จ พอออกมาเสียงอะคูสติคกีตาร์ของเราที่ไม่เคยมีใครได้ฟัง ก็เลยกลายมาเป็นแนวหน้าเลยในตอนนั้น …”
“….เลด เซพพลิน ไปเล่น อะคูสติกเสียแล้ว”
“…ผมคิดว่าแฟนๆ คงคิดอย่างนั้น โอ พระเจ้า หัว และหู ของพวกเขาไปอยู่ที่ไหนนะ
คือ…มันมีกีตาร์อะคูสติก ตั้งสามแทร็กในอัลบัมแรก อัลบัมสองและอีกสอง…”

“ผมคิดว่ามีการเพาะบ่มจนได้ที่ในอัลบัมที่สาม และแฟน ๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ก้าวตามมา สำหรับผม อัลบัมที่-สามเป็นอัลบัมที่วิเศษมากๆ มีอะไรที่พวกเราได้กระทำในนั้น มากกว่าเก่าก่อน ผมคิดว่าแฟนๆ คงคิดกันไปก่อนว่าอะไรที่ตั้งใจจะให้เป็น”

“…เมื่อวงยืนยันสถานะแห่งการเปลี่ยนแนวทางเพลง นั่นย่อมไม่ใช่ความบกพร่องของวง มันคือธรรมชาติ บางคนก็รับได้ เพราะว่าทุก ๆ อัลบัมมันแตกต่างกันอยู่แล้ว เมื่อจะฟังแผ่นใหม่ก็ต้องลืมของเก่า ลืมสิ่งที่วงเคยทำเสีย ไม่ต้องไปหวัง แต่ขอให้ฟังสิ่งใหม่ๆ….”

โรเบิร์ต แพลนท์ กล่าวเสริมว่า
“บรอง วาย เอาร์ส์ สตอมป์”เป็นเพลงที่ผมแต่ง ผมรักสิ่งที่เป็นโฟล์ก โดยเฉพาะจังหวะอย่างนั้น ผมไม่รู้ว่าถ้าจะเล่นอย่างนั้นบนเวทีบ้าง ผู้ชมคงจะไม่ว่าอะไร คงเป็นอิสระดี ถ้าพวกเขาให้ผมเล่นกีตาร์บ้าง ไม่ได้เล่นอัดแผ่นหรอกเพราะยังเล่นได้ไม่ดี แต่ก็เล่นเสริมภาคจังหวะให้แน่นขึ้นบ้าง ผมก็หมายความว่า ผมนั้นไม่สมบูรณ์แบบ แบบเพจหรอก ยังไม่เก่ง”

จิมมี เพจ
“ตอนผมฟังเพลง “แกลโลว์ โพล” ครั้งแรกจากแผ่นลองเพลย์ของห้างแผ่นเสียงโฟล์กเวย์ โดยเฟรช เจอร์ราช เป็นคนขาวคนแรกที่เล่นด้วยกีตาร์สิบสองสายผู้ซึ่งผมให้ความนิยมและเชื่อมั่นในตัวเขา ผมก็ใช้เบสิกพื้นฐานของเขานำร่อง เพียงแต่มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่”

โรเบิร์ต แพลนท์
“ผมและแพกกี นั่งในสตูดิโอทีเฮดเลย์ แกรนจ์ เล่นและร้องผ่านเครื่องไม่ค่อยชัดนัก และพูดว่า”แฮด ออฟ ทู รอย ฮาร์เปอร์”ไปพร้อมกับนักร้องประสานต่อการตระเวนแสดงสดว่า”เยห์”พร้อมกับเสียงกลองแทมบูรีนส์ เมื่อเราร้องแด่ฮาร์เปอร์ เขาก็ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอย่างไร แต่เวลาของเขาจะมาถึง โดยความคิดส่วนตัวแล้วรอย ฮาร์เปอร์ เป็นโฆษกที่เยี่ยมยอด ในยุคสมัยของเขาที่เคยมี…”

“มีความสับสนต่อมาของบรรดานักวิจารณ์ ซึ่งบางคนแปลความผิด ทำให้ดูไม่ดี”แฮด ออฟ ทู(รอย) ฮาร์เปอร์”ก็แค่เพียงได้รับการรับรองว่าเป็นเพื่อนของเราเท่านั้น อย่าคิดเป็นอื่น”

“…ผมก็เป็นผลสะท้อนจากสิ่งที่ผมร้อง บางครั้งก็รู้สึกเครียดเหมือนกัน เพราะว่าสิ่งที่ผมร้องมันก็ซีเรียสพอกันอยู่แล้ว การเดินสายหลายเมือง ก็จะเห็นอเมริกา ที่บางครั้งเราก็อาจไม่เห็นด้วยต่อบางสิ่งบางอย่าง และอารมณ์แห่งการประท้วงนั้นก็จะมาอยู่ในบทเพลงของเรา เมื่อคุณอ้างเหตุผลสนับสนุน คุณต้องทำ…”

“…. ผมเชื่อว่า อเมริกานั่นทำให้คุณพึงสำเหนียกและประมาณท่าที ต่อแนวคิด ต่อเคราะห์กรรมของมนุษย์ มองผิวเผิน คุณจะเห็นสิ่งต่างๆ ว่ายิ่งใหญ่ แต่รู้ไหม ทั้งหมดเต็มไปด้วยความรุนแรง ความเร่งรีบ การดิ้นรนตะเกียกตะกายเพื่ออยู่รอด คุณรู้ไหม ผู้คนจะพูดว่าเราผลิตขนมปังมากมาย แต่บางเมืองนั้นให้แสนลำบาก รวมถึงพวกเกกมะเหรกเกเร ผู้คนก็ตื่นกับคอนเสิร์ตของเรา ผู้จัดการเคยถูกปืนจี้ ตอนแสดงคอนเสิร์ตและให้กลับมาอังกอร์ เราก็ถูกคุกคาม ตำรวจเคยหาว่าเราเป็นพวกขี้ยา นั่นคือส่วนหนึ่งของเพลง “แด็ทส์ เดอะ เวย์” ที่ได้แรงบันดาลใจมา…”

จิมมี เพจ กล่าวเสริมว่า “แผ่นปกเราตั้งใจจะให้เป็นบางสิ่ง คล้ายๆ กับปฏิทินรูปสวน หรือหรือสวนสัตว์ วัตถุทรงกลมนั้นเหมือนการปลูกกะหล่ำดอกหรือปลาวาฬกำลังท้อง แต่มีบางอย่างที่ศิลปินเข้าใจผิด ซึ่งความจริงแล้วเขาก็ฝีมือดี แต่เขาเค้นย่อความคิดและสรุปเนื้อหาไม่ถูกต้อง ตอนนั้น เราตัดสินใจยื่นคำขาดกำหนดวันมอบงาน แต่สุดท้ายก็ต้องประนีประนอมกับผลงานนั้น”

โรเบิร์ต แพลนท์ เล่าต่อว่า…“ตอนที่เราทำอัลบัมที่ 3 ดินฟ้าอากาศเป็นตัวจำกัด ทำให้โชว์ของเราต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย และก็ต้องทำในแนวทิศทางนั้นด้วย มันหมายถึงความเป็นไปที่ไม่รู้จบ และมีทิศทางสำหรับเรา และต่อการก้าวไป เราไม่เบื่อเลย นี่คือข้อพิสูจน์…”

user's Blog!

49/1 ชั้น 4 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

49/1 4th floor, Phra-A-Thit Road, Chanasongkhram,Phanakorn Bangkok 10200

Tel. 02 629 2211 #2256 #2226

Email : mars.magazine@gmail.com

FOLLOW US ON

SUBSCRIBE